THE KULTURES

Culture / Tech / Talks /

Saturday, October 28, 2006

Good Service

จุดหมายเหตุ Hachi 06

วันนี้ Hachi ไม่มีอะไรจะ present แต่อยากเข้ามาในบล็อก เพราะอยากรู้ว่าคนอื่นๆ (พวกคุณนั่นแหละ) ทำอะไรกันอยู่บ้าง (แถมเรายังหายหน้าไปจากออฟฟิศ 2 วัน)

เมื่อเย็นเราเอาแลปท็อปไปซ่อมมา ต้องรอพรุ่งนี้ถึงจะไปเอาได้ ..ว้า เครื่องมือทำมาหากินของเรา..
ไม่ดีเลย-ชั่วขณะหนึ่ง เราคิดไปทางอกุศล ว่าการทิ้งของเอาไว้กับร้านแบบนี้ จะถูกโกงได้ง่ายๆ เช่น ถูกถอดอะไหล่บางส่วนไป และได้อะไหล่เก่าๆ ใกล้พังมาใส่แทนโดยเราเองก็ไม่รู้เรื่อง ฯลฯ

เมื่อหลายปีก่อน เราเอานาฬิกา (เราได้เป็นของขวัญ และเป็นของรักของเรา) ยี่ห้อ Citizen ไปซ่อม หลังจากนั้นตั้งนาน เพิ่งสังเกตเห็นว่า ฝาปิดด้านหลังนาฬิกาที่ช่างซ่อมใส่กลับมาให้เรานั้นเป็นของโนเนมราเคาถูก

เมื่อวันพุธ เราถึงออฟฟิศตอนเกือบบ่าย 3 เพราะนั่งรถเมล์ผิดสาย เลยไปถึงประชานิเวศน์หรืออะไรนี่แหละตั้งซอย 30 กว่าๆ
เรื่องมีอยู่ว่า เราโดดขึ้นรถเมล์สายนั้นตรงป้ายสถานีรถไฟบางซื่อ (ก็เห็นป้ายบอกว่าจะผ่าน แยกพิชัย?)
แล้วเราก็ถามกระเป๋าฯ ว่า "ผ่านศรีย่านมั้ย" กระเป๋าพยักหน้าหงึก
แต่พอนั่งออกมาไกลเข้าๆ เราก็ชักเริ่มสงสัย จึงถามกระเป๋าว่า "เอ่อ มันจะเข้าศรีย่านทางไหนเหรอ?" ปรากฎว่าเขาฟังผิดเป็นที่อื่นมั้ง เราเลยต้องลง ที่ทำให้เราแอบงอนคือ เขาไม่แสดงน้ำจิตน้ำใจเช่นคืนสตางค์ให้เรา (หรือกระทั่งทำหน้าสงสารเรา)นั่งเลยมาไกลโคตร

ที่เล่ามาทั้งหมดนี้ คือเราอยากจะบอกว่า เราทุกคนไม่ควรจะคาดหวังสิ่งที่เรียกว่า บริการอันดีเลิศ (Good Service) จากใครเลย แม้ว่าเราจะแลกบริการนั้นด้วยการควักสตางค์จ่ายก็ตาม

คงเป็นความผิดเราเองที่แต่ไหนแต่ไรก็คิดว่า ในเมื่อจ่ายเงินแล้ว เราก็ต้องได้รับบริการที่ดี (แต่ก่อน เราเคยโวยพวกแม้ค้า พ่อค้า และพนักงานร้านต่างๆ มานักต่อนักแล้ว)

เพราะเราเคยคิดไปเองว่า ในเมื่อใช้ 'เงิน'แลก ทุกอย่างจะต้องได้ดั่งใจ แต่มันไม่ใช่

พนักงานเหล่านั้น พ่อค้า แม่ค้าเหล่านั้น ...

เขาก็มีเรื่องทุกข์ใจ หรือไปเจอกับอะไร (โดยที่เราไม่อาจรู้ได้) มาเหมือนกัน

*จุดหมายเหตุ (อีกที)*
นิ อีตา buiberry ก็มีบล็อกของตัวเองด้วยใช่มั้ย เราใส่ลิงก์ไว้ให้ข้างๆ นี่เพิ่มให้แล้วกันนะ ว่าแต่ทำไมไม่มีใครใส่ลิงก์อะไรเลย?

2 Comments:

  • At 11:46 AM, Blogger the aesthetics of loneliness said…

    แนวความคิดเรื่องการรักษาสิทธิผู้บริโภคในบ้านเรายังไม่เข้มแข็งพอ
    อีกทั้งบรรษัทขนาดใหญ่ ก็ยังไม่สามารถควบคุมทุกสิ่งทุกอย่างให้เป๊ะๆ ได้
    สินค้าและบริการต่างๆ จึงดูบกพร่อง ไม่สมบูรณ์

    แต่ถ้ามองอีกด้าน ความบกพร่องเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ มันแสดงให้เห็นว่า
    มนุษย์ยังไม่ได้ถูกครอบงำโดยบรรษัทไปเสียทั้งหมด ยังไม่กลายเป็นหุ่นยนต์
    ก๋วยเตี๋ยวผัดซีอิ้วที่กินในร้านอาหารสักร้าน จึงไม่มีความคงที่ อร่อยบ้างไม่อร่อยบ้าง

    มันก็แล้วแต่ ว่าเราจะชอบที่จะ deal กับมนุษย์คนอื่นอย่างไร
    และเราชอบให้สังคมเราเป็นไปอย่างไร

     
  • At 1:06 PM, Anonymous Anonymous said…

    มรทฤษฎีทางสังคมวิทยา เคยบอกว่า ตามเนื้อแท้แล้วมนุย์เรามีความคิดที่จะทำชั่วอยุ่แล้ว การสร้างกฏ สร้างจิตสำนึกขึ้นมาเพื่อควบคุมนั้น จึงเป้นเรื่องที่ต้องทำอยู่แล้ว เพราะไม่อย่างนั้นสังคมจะวุ่นวาย
    เมื่อคิดไอย่างนี้แล้ว มันอาจจะง่ายที่เราจะทำใจว่า เออของแบบนี้มันเกิดขึ้นได้ การเกิดขึ้นของกระบวนการโกง หรือความไม่ซื้อสัตย์ บางทีเป็นเรื่องสัญชาติญาณลึกๆ ของสัตว์โลกทุกตัว ขึ้นอยู่กับว่าระดับจิตสำนึกที่สังคมสร้างขึ้น จะเข้าไปถึงหน่อยระดับปัจเจก ระดับครอบครัวได้มากน้อยแค่ไหน
    การผงกหัวของหนักงานเก็บตังค์ ทั้งๆ ที่รู้ว่ามันอาจไม่ใช่คำตอบที่ถูกค้องนั้น มันชวนให้เราคิดไปได้มากมาย
    และชวนสังเวชสังคมที่เราอยู่จริงๆ

     

Post a Comment

<< Home