THE KULTURES

Culture / Tech / Talks /

Wednesday, October 25, 2006

หนังเกาหลีมีอะไรดี


เป็นครั้งแรกในรอบหลายปีที่ผมดูหนังเกาหลี เรื่องล่าสุดที่ดูเห็นจะเป็น old boy จากนั้นก็ไม่ได้ดูอีกเลย
ผมมักบอกตัวเองว่า หนังเกาหลีไม่เห็นมีดีอะไรนอกเหนือจากภาพสสวย เรื่องดี แล้วก็พล็อตเจ๋ง
(ซึ่งจริงๆ มันครบคุณสมบัติของหนังน่าดูนี่นา)
จริงๆ ผมกำลังอิจฉาหนังเกาหลีก็เลยหลอกตัวเองอย่างนั้น

เมื่อวานผมดูเรื่อง the beast and the beauty หนังตลกโรแมนติก เรื่องของสาวตาบอดที่มีแฟนขี้เหร่ ื
แต่วันหนึ่งสาวสวยคนนี้ได้คนใจดีบริจาคตาให้ ปัญหาก็คือ พระเอกหน้าเหียกคนนี้
กลัวว่าแฟนสาวของเขาจะรับไม่ได้กับใบหน้าอันน่ากลัว(จริงๆ ผมว่า ผมอาจจะน่ากลัวกว่า)

ผมพบว่าสิ่งที่น่าสนใจไม่ใช่หนัง แต่ผมว่ามันน่าสนใจตรงที่เกาหลีทำอย่างไรถึงพัฒนาอุตสาหกรรมหนังได้ดีจนกลายเป็นหนึ่งในประเทศที่ส่งออกหนังมากสุดในเอเชีย ไม่แพ้ฮ่องกงและอีนเดีย ซึ่งถือเป็นตลาดที่มหญ่รองลงมาจากฮอลิวู้ด
เกาหลีใต้ใช้เวลาแค่
ช่วงสิบปีทำให้ตลาดหนังรู้จักบุคลิกของหนังเกาหลี

ผมเคยอ่านเจอว่า การพัฒนาหนังของเกาหลี ขับเคลื่อนเป็นแบบหน้ากระดาน เริ่มตั้งแต่รัฐบาลออกกฏหมายให้โรงหนังต้องฉายหนังเกาหลีในสัดส่วน 70:30 ส่งเสริมการทำหนังโดยรัฐบาลออกเงินให้ส่วนหนึ่งสำหรับหนังที่ผ่านการพิจารณาจากภาครัฐ(คล้ายๆ สอบชิงทุนิะไรแบบนั้น)
มีการสร้างสตูดิโอที่ลงทุนโดยรัฐบาล เปิดการสอนหลักสูตรการทำหนังอย่างอึกทึก และโปรโมทตลาดการค้าหนังอย่างเทศกาลปูซาน ฟิล์ม จนกลายเป็นที่รู้จัก สุดท้ายเกาหลีใต้ก็ประสบความสำเร็จในการสร้างหนังที่มีบุคลิกเฉพาะตัวขึ้นมาได้สำเร็จ

ผมว่าเขาฉลาดมากในการลงทุนกับหนัง เพราะเป็นอุตสาหกรรมบันเทิงที่ไปได้ไกล
และเป็นเครื่องมือโปรโมทภาพลักษณ์ของประเทศอย่างมีชั้นเชิง แถมมีอิทธิพลต่อควาวมคิดของคนได้มาก
(คิดดูว่าหนังดีๆ สักเรื่องที่เราได้ดู เราจะจำได้นานแค่ไหน)
แค่หนังสักเรื่องที่ได้รางวัลระดับโลก หรือหนังสักเรื่องที่ฮอลิวู้ดซื้อไปทำ ก็พอจะทำให้คนได้รู้จักประเทศนี้เพิ่มขึ้นอย่างน้อยๆ ก็หลายล้านคน แถมอยุ่ได้นาน คิดดูว่าคุ้มแค่ไหน หลักการเดียวกันนี้เขาเอาไปใช้กับอุตสาหกรรมอย่างอื่นด้วย ทั้งละครซีรี่ย์ อย่างแดจังกึม ก็ไปดังถึงเยอรมนี เรน บีโอเอ หรือ เค หรือดอน บัง ชิงกิ ก้ดังถึงญี่ปุ่นื ซึ่งเป็นตลาดเพลงใหญ่อันดับสองของโลก ศิลปิน เคป๊อบ(ใช้เรียกศิลปินเกาหลีที่ร้องเพลงญี่ปุ๋น) ก็เรียกคะแนนจากแฟนๆ ได้มาก
เรนเองก็ได้ไปแสดงที่เมดิสัน สแควร์การ์เด้น ในนิวยอร์ค ที่ผ่านมามีศิลปินต่างประเทศ สองคนที่เคยไปแสดง คืออูทาดะ ฮิคารุจากญี่ปุ่น กับเรนเท่านั้น
เบื้องหลังของหนังเกาหลี จึงไม่ใช่แค่ขายหนังหรือบันเทิง แต่เป็นการขายวัฒนธรรมที่แนบเนียนยิ่ง
สำหรับเมืองไทยที่การพัฒนาถูกสอนให้เราคิดแบบแยกส่วนแบบนี้ ภาคประชาชนที่อ่อนแอแบบนี้
การขับเคลื่อนบันเทิงให้กลายเป็นวาระวัฒนธรรมแห่งชาติคงต้องใช้เวลาอีกมากมากนัก

3 Comments:

  • At 12:17 PM, Anonymous Anonymous said…

    อา ...คุณประมาทหนังเกาหลีเกินไปหากคิดว่ามันจะเป็นหนังจำพวก ยัยตัวร้ายกับนายกระจอก หรืออะไรเทือกนั้นไปทั้งหมด

    หากคุณยังไม่ได้ดู The Host คุณต้องไปดู เพราะหน้าหนังเรื่องนี้หลอกเราว่านี่คือหนังสัตว์ประหลาด

    แต่มันโคตรจะไม่ใช่หนังสัตว์ประหลาด แถมเขาก็ทำสัตว์ประหลาดในเรื่องได้ดีและสมจริงกว่าหนังสัตว์ประหลาดจริงๆ เสียอีก พอนึกภาพออกใช่ไหม

    เราเคยคุยกับคนที่ได้สัมผัสอุตสาหกรรมหนังในเกาหลีเขาบอกว่า เพราะพวกเขาไม่ได้มานั่งจำกัดว่านี่หนังตลาด นี่หนังอาร์ต นี่หนังเป็นเอก หนังเจ้ย หนัง GTH หนังแก๊งแฟนฉัน

    แต่พวกเขาทำหนัง ทำหนัง ทำหนัง
    รัฐบาลก็ทำหน้าที่สนับสนุน สนับสนุน และสนับสนุน

    ทุกอย่างจึงออกมาอย่างที่เราเห็นกันนั้นแล

     
  • At 12:53 PM, Blogger the aesthetics of loneliness said…

    ในโลกยุคใหม่ วัฒนธรรมจะเป็นสินค้าหลักของแต่ละประเทศ เห็นรัฐบาลเกาหลีเขาเก่งแล้วก็อิจฉาเหมือนกัน รัฐบาลไทยเรา แค่จะหาเงินมาอนุรักษ์ฟิล์มหนังไทยเก่าๆ ที่หอภาพยนตร์ ยังหาลำบากเลย วันๆ งมโข่งอยู่กับเรื่องการเซนเซอร์บุหรี่และนมทาทายัง

     
  • At 3:15 PM, Anonymous Anonymous said…

    ผมชอบมุมกล้องกับบรรยากาศของ ซีรี่ส์เกาหลี ครับ

    มันเป็นธรรมชาติดี

    ของไทย… เหมือนกันทุกเรื่อง

     

Post a Comment

<< Home