เปนชู้กับผี : หนังผีไทยทำเองก็ได้ง่ายจัง
เมื่อวานอดรนทนไม่ไหว ต้องแว่บไปดู "เปนชู้กับผี"
อีกหนึ่งหนังไทยที่นานๆ ผมจะอยากดูสักที
อย่างที่รู้กันว่าหนังไทยไม่ค่อยจะมีอะไรให้ดูนัก
ที่อยากดูก็เพราะว่าอยากรู้ว่า วิศิษฎ์ ศาสนเที่ยง ผู้กำกับสไตล์จัดที่ทำหนังที่เด่นทางด้านรูปแบบมากกว่าเนื้อหาอย่าง ฟ้าทะลายโจร และ หมานคร นั้น พอมาจับงานที่เน้นความลึกของตัวละคร เรื่องราวสยองขวัญแบบไทยๆ เขาจะทำได้ดีแค่ไหน
พูดแบบนี้ไม่ด้หมายความว่า หนังที่เน้นสไตล์มากกว่าเนื้อหาจะเป็นหนังที่ไม่ดีนะครับ เพราะถ้าคนทำมือถึง เขาก็สามารถใช้สไตล์มาโอบอุ้มเนื้อหาได้อย่างกลมกล่อม ซึ่งก็มาจากการที่ผู้กำกับคนนั้นเขาต้องนั่งใช้ความคิดสร้างสรรค์หัวแทบแตกในการจะสร้าง สไตล์ ของตนขึ้นมา
(ขอนอกเรื่องนิดนึงว่า ส่วนใหญ่หนังไทยไม่ถนัดในการสร้างหนังที่มีเนื้อหาหนักแน่นสักเท่าไหร่ อาจเป็นเพราะวัฒนธรรมของคนไทยที่รักสนุกมากกว่าจะมานั่งดูอะไรที่เคร่งเครียด ซึ่งผมว่ามีผลมาจากการที่เราทำแต่ละครที่มีพล็อตเดิมๆ วนเวียนอยู่กับเรื่องความรักอย่างเดียว มานานนับสิบๆ ปี พื้นฐานคนดูละครจึงค่อนข้างเคยชินกับเรื่องราวง่ายๆ จึงส่งผลต่อการดูหนังของคนไทยตามไปด้วย)
ปัญหาอยู่ที่ผู้กำกับหนังไทยส่วนใหญ่ ไม่ค่อยสร้างสรรค์สไตล์ของตัวเองขึ้นมา หากแต่เลือกที่จะรับสไตล์จากกระแสหนังเทศหรือหนังเอเชียที่ประสบความสำเร็จ นำมาจับยัดเข้าใส่ในหนังไทยอย่างเลอะเทอะ เสียจนไปไม่รอดกันอยู่หลายเรื่อง ซึ่งก็ยกตัวอย่างได้ชัดเจนจากหนังผีทั้งหลาย
แต่ "เปนชู้กับผี" คือหนึ่งในความพยายามที่จะแสดงให้เห็นว่า สไตล์นั้นเป็นเรื่องของการสร้าง (หรือหยิบยืมมาใช้อย่างสร้างสรรค์) ไม่ใช่การก็อปปี้
ผมไม่ขอเล่าเรื่องย่อหนังนะครับ เพราะไม่ได้ตั้งใจมารีวิวหนัง แต่อยากจะพูดถึงวิธีการที่หนังเรื่องนี้ใช้ในการสร้างบรรยากาศที่ปกคลุมหนังทั้งเรื่องไว้ได้ มันสำคัญมากนะครับที่หนังผีสักเรื่อง จะต้องมีบรรยากาศ หรือโทนหนังที่ชัดเจน เปรียบได้กับแพ็คเกจที่ห่อใส่เนื้อในไว้ ยิ่งการออกแบบหีบห่อชัดเจนและดูมีเอกลักษณ์มากเท่าไหร่ การโน้มนำคนดูไปสู่ทิศทางที่หนังต้องการก็มีสูงมากขึ้น โดยไม่ต้องใช้เนื้อหา หรือพล็อตหวือหวามาเป็นตัวช่วยให้เปลืองแรงมาก
บรรยากาศของ เปนชู้กับผี ก็คือการจับเอาธรรมชาติของวิถีชีวิตแบบไทยๆ ที่กำลังเริ่มแปลกแยกต่อยุคสมัยมานำเสนอ งงไหมครับ พูดใหม่ว่า อารมณ์ในหนังนั้นไม่ใช่กลิ่นอายของความเป็นหมู่บ้านแบบไทยๆ มีตรอกซอกซอยเยอะแยะ และมีวัดวาอารามให้หลบผีอยู่ใกล้ๆ แต่มันคือภาพรอยต่อของกรุงเทพฯ ในพ.ศ 2470-2480 ที่ชนชั้นสูงรับวัฒนธรรมตะวันตกมาอย่างเต็มเปี่ยม หากความเป็นบ้านแบบเจ้าขุนนายวังกำลังสูญสิ้น เพราะการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง บ้านหลังใหญ่โต มีพื้นที่กว้างขวางรายล้อม แต่ไร้ร้างซึ่งเพื่อนบ้าน และคนอาศัย
พื้นที่ที่แต่ก่อนผู้คนเคยอาศัยอยู่พลุกพล่าน มาวันหนึ่งกลับเงียบเหงาวังเวง...
บรรยากาศความว้าเหว่ของบ้านเรือนแบบไฮโซ ในยุคนั้นล่ะครับ คือบรรยากาศที่ เปนชู้กับผี จับไว้มั่นได้ตลอดทั้งเรื่อง
ทีนี้พอเซ็ทบรรยากาศของหนังได้แล้ว สิ่งที่ผมอยากชื่นชมคุณวิศิษฎ์อีกข้อก็คือ วิธีการที่เขาจะเล่นกับ ผี
ถ้าเป็นผู้กำกับหัวก้าวหน้า(ลงดิน)เหมือนคนอื่น เขาก็อาจะใช้วิธีการย้อนศรกลับหนังผีในช่วงนั้น พูดง่ายๆ ว่าหลอกคนดูไปมา เช่น เอ็งอยากเห็นผีออกมาช่วงนี้ใช่ไหม แต่ข้าไม่ให้ออกมาหรอก หรือเอ็งคิดว่าผีจะโผล่มาจากตุ่มใช่ไหม แต่ข้าจะให้ผีออกมาทางฝาตุ่มแทน 555 ?!?!
ถ้าหนังถูกดำเนินไปในแนวทางแบบนั้น นอกจากจะขัดกับอารมณ์คนดูแล้ว ยังลักลั่นกับสไตล์ที่สร้างขึ้นมาดิบดีจนเสียของไปในที่สุด
คุณวิศิษฎ์ ฉลาดและเข้าใจคนดูหนังผีเพียงพอว่า ถ้าคนดูอยากจะเห็นผีตอนไหน เขาก็จะได้เห็น แต่ความแตกต่างไม่ได้อยู่ที่ว่าเราจะเห็นผีแบบไหนหรือช่วงเวลาไหน
สิ่งที่หนังเรื่องนี้ทำได้ดีกว่าก็คือคนดูควรจะ "รู้สึก" ถึงอะไรก่อนที่จะเจอผี
เสียงจิ้งหรีดร้องระงม เสียงหมาหอนแผ่วๆ ความเวิ้งว้างของพื้นที่ในสวน เสียงเสียดสีกรากแกรกของใบไม้ เสียงอะไรสักอย่างหล่นตุบๆ อยู่ไม่ไกล ภาพเงาของคนกำลังทำอะไรที่เราไม่เข้าใจ แต่ก็ไม่กล้าเฉียดใกล้ การบอกเล่าตำนานสยองทั้งจริงและแต่งเติม สิ่งเหล่านี้คือเบ้าหลอมชั้นดีที่จะผลิตจินตนาการของคนดู ผลิตความหวาดหวั่น ความไม่ไว้ใจ ให้เกิดขึ้นนานพอก่อนที่จะจ๊ะเอ๋กับน้องผีในที่สุด
สไตล์และวิธีการของหนังที่ประสานกันอย่างลงตัวนั้น ก็เพียงพอแล้วครับที่จะยกระดับหนังผีไทยๆ เรื่องนี้ขึ้นมาจากหลุมได้อย่างจริงจัง ผมมองว่า เปนชู้กับผี ไปได้สวยกว่าหนังแนวทางเดียวกันอย่าง นางนาก ด้วยซ้ำในเรื่องการพาคนดูไปจนสุดทางแห่งความหวาดกลัว
แต่ใช่ว่า เปนชู้กับผี จะไม่มีจุดด้อยเลยนะครับ ในความคิดของผมก็คือหนังพยายามที่จะเล่นกับพล็อตในตอนท้ายมากไปสักนิด จนทำให้อารมณ์หลอนๆ ที่ปกคลุมมาทั้งเรื่อง สะดุดแข้งขาตัวเองไปบ้าง หากไม่ถึงกับเสียหาย แต่ก็ยังมีข้อสนับสนุนให้ว่า พล็อตซับซ้อนที่ผูกขึ้นมานั้นมันเกี่ยวโยงกับธีมสำคัญของเรื่องอย่างชัดเจน
เพียงแต่ผมเชื่อว่า เปนชู้กับผี หาทางออกของเรื่องที่ตรงไปตรงมาได้มากกว่านี้ได้
และได้ผลทางความรู้สึกที่เท่าเทียมไม่ต่างกัน
jeeno บอกเล่า
อีกหนึ่งหนังไทยที่นานๆ ผมจะอยากดูสักที
อย่างที่รู้กันว่าหนังไทยไม่ค่อยจะมีอะไรให้ดูนัก
ที่อยากดูก็เพราะว่าอยากรู้ว่า วิศิษฎ์ ศาสนเที่ยง ผู้กำกับสไตล์จัดที่ทำหนังที่เด่นทางด้านรูปแบบมากกว่าเนื้อหาอย่าง ฟ้าทะลายโจร และ หมานคร นั้น พอมาจับงานที่เน้นความลึกของตัวละคร เรื่องราวสยองขวัญแบบไทยๆ เขาจะทำได้ดีแค่ไหน
พูดแบบนี้ไม่ด้หมายความว่า หนังที่เน้นสไตล์มากกว่าเนื้อหาจะเป็นหนังที่ไม่ดีนะครับ เพราะถ้าคนทำมือถึง เขาก็สามารถใช้สไตล์มาโอบอุ้มเนื้อหาได้อย่างกลมกล่อม ซึ่งก็มาจากการที่ผู้กำกับคนนั้นเขาต้องนั่งใช้ความคิดสร้างสรรค์หัวแทบแตกในการจะสร้าง สไตล์ ของตนขึ้นมา
(ขอนอกเรื่องนิดนึงว่า ส่วนใหญ่หนังไทยไม่ถนัดในการสร้างหนังที่มีเนื้อหาหนักแน่นสักเท่าไหร่ อาจเป็นเพราะวัฒนธรรมของคนไทยที่รักสนุกมากกว่าจะมานั่งดูอะไรที่เคร่งเครียด ซึ่งผมว่ามีผลมาจากการที่เราทำแต่ละครที่มีพล็อตเดิมๆ วนเวียนอยู่กับเรื่องความรักอย่างเดียว มานานนับสิบๆ ปี พื้นฐานคนดูละครจึงค่อนข้างเคยชินกับเรื่องราวง่ายๆ จึงส่งผลต่อการดูหนังของคนไทยตามไปด้วย)
ปัญหาอยู่ที่ผู้กำกับหนังไทยส่วนใหญ่ ไม่ค่อยสร้างสรรค์สไตล์ของตัวเองขึ้นมา หากแต่เลือกที่จะรับสไตล์จากกระแสหนังเทศหรือหนังเอเชียที่ประสบความสำเร็จ นำมาจับยัดเข้าใส่ในหนังไทยอย่างเลอะเทอะ เสียจนไปไม่รอดกันอยู่หลายเรื่อง ซึ่งก็ยกตัวอย่างได้ชัดเจนจากหนังผีทั้งหลาย
แต่ "เปนชู้กับผี" คือหนึ่งในความพยายามที่จะแสดงให้เห็นว่า สไตล์นั้นเป็นเรื่องของการสร้าง (หรือหยิบยืมมาใช้อย่างสร้างสรรค์) ไม่ใช่การก็อปปี้
ผมไม่ขอเล่าเรื่องย่อหนังนะครับ เพราะไม่ได้ตั้งใจมารีวิวหนัง แต่อยากจะพูดถึงวิธีการที่หนังเรื่องนี้ใช้ในการสร้างบรรยากาศที่ปกคลุมหนังทั้งเรื่องไว้ได้ มันสำคัญมากนะครับที่หนังผีสักเรื่อง จะต้องมีบรรยากาศ หรือโทนหนังที่ชัดเจน เปรียบได้กับแพ็คเกจที่ห่อใส่เนื้อในไว้ ยิ่งการออกแบบหีบห่อชัดเจนและดูมีเอกลักษณ์มากเท่าไหร่ การโน้มนำคนดูไปสู่ทิศทางที่หนังต้องการก็มีสูงมากขึ้น โดยไม่ต้องใช้เนื้อหา หรือพล็อตหวือหวามาเป็นตัวช่วยให้เปลืองแรงมาก
บรรยากาศของ เปนชู้กับผี ก็คือการจับเอาธรรมชาติของวิถีชีวิตแบบไทยๆ ที่กำลังเริ่มแปลกแยกต่อยุคสมัยมานำเสนอ งงไหมครับ พูดใหม่ว่า อารมณ์ในหนังนั้นไม่ใช่กลิ่นอายของความเป็นหมู่บ้านแบบไทยๆ มีตรอกซอกซอยเยอะแยะ และมีวัดวาอารามให้หลบผีอยู่ใกล้ๆ แต่มันคือภาพรอยต่อของกรุงเทพฯ ในพ.ศ 2470-2480 ที่ชนชั้นสูงรับวัฒนธรรมตะวันตกมาอย่างเต็มเปี่ยม หากความเป็นบ้านแบบเจ้าขุนนายวังกำลังสูญสิ้น เพราะการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง บ้านหลังใหญ่โต มีพื้นที่กว้างขวางรายล้อม แต่ไร้ร้างซึ่งเพื่อนบ้าน และคนอาศัย
พื้นที่ที่แต่ก่อนผู้คนเคยอาศัยอยู่พลุกพล่าน มาวันหนึ่งกลับเงียบเหงาวังเวง...
บรรยากาศความว้าเหว่ของบ้านเรือนแบบไฮโซ ในยุคนั้นล่ะครับ คือบรรยากาศที่ เปนชู้กับผี จับไว้มั่นได้ตลอดทั้งเรื่อง
ทีนี้พอเซ็ทบรรยากาศของหนังได้แล้ว สิ่งที่ผมอยากชื่นชมคุณวิศิษฎ์อีกข้อก็คือ วิธีการที่เขาจะเล่นกับ ผี
ถ้าเป็นผู้กำกับหัวก้าวหน้า(ลงดิน)เหมือนคนอื่น เขาก็อาจะใช้วิธีการย้อนศรกลับหนังผีในช่วงนั้น พูดง่ายๆ ว่าหลอกคนดูไปมา เช่น เอ็งอยากเห็นผีออกมาช่วงนี้ใช่ไหม แต่ข้าไม่ให้ออกมาหรอก หรือเอ็งคิดว่าผีจะโผล่มาจากตุ่มใช่ไหม แต่ข้าจะให้ผีออกมาทางฝาตุ่มแทน 555 ?!?!
ถ้าหนังถูกดำเนินไปในแนวทางแบบนั้น นอกจากจะขัดกับอารมณ์คนดูแล้ว ยังลักลั่นกับสไตล์ที่สร้างขึ้นมาดิบดีจนเสียของไปในที่สุด
คุณวิศิษฎ์ ฉลาดและเข้าใจคนดูหนังผีเพียงพอว่า ถ้าคนดูอยากจะเห็นผีตอนไหน เขาก็จะได้เห็น แต่ความแตกต่างไม่ได้อยู่ที่ว่าเราจะเห็นผีแบบไหนหรือช่วงเวลาไหน
สิ่งที่หนังเรื่องนี้ทำได้ดีกว่าก็คือคนดูควรจะ "รู้สึก" ถึงอะไรก่อนที่จะเจอผี
เสียงจิ้งหรีดร้องระงม เสียงหมาหอนแผ่วๆ ความเวิ้งว้างของพื้นที่ในสวน เสียงเสียดสีกรากแกรกของใบไม้ เสียงอะไรสักอย่างหล่นตุบๆ อยู่ไม่ไกล ภาพเงาของคนกำลังทำอะไรที่เราไม่เข้าใจ แต่ก็ไม่กล้าเฉียดใกล้ การบอกเล่าตำนานสยองทั้งจริงและแต่งเติม สิ่งเหล่านี้คือเบ้าหลอมชั้นดีที่จะผลิตจินตนาการของคนดู ผลิตความหวาดหวั่น ความไม่ไว้ใจ ให้เกิดขึ้นนานพอก่อนที่จะจ๊ะเอ๋กับน้องผีในที่สุด
สไตล์และวิธีการของหนังที่ประสานกันอย่างลงตัวนั้น ก็เพียงพอแล้วครับที่จะยกระดับหนังผีไทยๆ เรื่องนี้ขึ้นมาจากหลุมได้อย่างจริงจัง ผมมองว่า เปนชู้กับผี ไปได้สวยกว่าหนังแนวทางเดียวกันอย่าง นางนาก ด้วยซ้ำในเรื่องการพาคนดูไปจนสุดทางแห่งความหวาดกลัว
แต่ใช่ว่า เปนชู้กับผี จะไม่มีจุดด้อยเลยนะครับ ในความคิดของผมก็คือหนังพยายามที่จะเล่นกับพล็อตในตอนท้ายมากไปสักนิด จนทำให้อารมณ์หลอนๆ ที่ปกคลุมมาทั้งเรื่อง สะดุดแข้งขาตัวเองไปบ้าง หากไม่ถึงกับเสียหาย แต่ก็ยังมีข้อสนับสนุนให้ว่า พล็อตซับซ้อนที่ผูกขึ้นมานั้นมันเกี่ยวโยงกับธีมสำคัญของเรื่องอย่างชัดเจน
เพียงแต่ผมเชื่อว่า เปนชู้กับผี หาทางออกของเรื่องที่ตรงไปตรงมาได้มากกว่านี้ได้
และได้ผลทางความรู้สึกที่เท่าเทียมไม่ต่างกัน
jeeno บอกเล่า
2 Comments:
At 11:35 PM,
the aesthetics of loneliness said…
ยังไม่ได้ดูหนังเรื่องนี้ แต่อยากจะพูดถึงหนังผีไทยๆ ซะหน่อย
สมัยตอนเด็กๆ พี่ดูหนังผีไทยเยอะ เงินปากผี ฉบับของชนะ คราประยูร
ผีหัวขาด ฉบับสรพงษ์ ผีตาโบ๋ ฉบับพอเจตน์ แก่นเพชร ฯลฯ
สังเกตว่าหนังผีไทย เน้นธีมเรื่องกฎแห่งกรรม คือตัวละครในเรื่อง
ต้องไปทำอะไรไม่ดีไว้ แล้วในที่สุด ผีก็ตามมาล้างแค้น
แสดงให้เห็นวิธีคิดและวิธีสอนศีลธรรมของคนไทยเรา ผ่านเรื่องผีๆ
At 6:16 PM,
Anonymous said…
โทษที เป็นคนไม่ดูหนังผี
แต่เคยไปฟัง อ.กำจร หลุยส์ยะพงศ์ เขาทำวิทยานิพนธ์เรื่องหนังผี เขาเสนอว่า ผีในหนังก็คือด้านร้ายของมนุษย์เรานั่นเอง
ผีในหนังเป็นยังไง คนก็เป็นอย่างนั้น
Post a Comment
<< Home