ว่าด้วยเรื่อง คำหล่อๆ (แรงบันดาลใจจาก The Aesthetics of Loneliness )
ผมหายหน้าทางตัวหนังสือจากบล็อกนี้ไปร่วมสองอาทิตย์ เพราะไม่รู้ว่าจะนำหัวข้ออะไรที่น่าสนใจ หรือแค่ที่ตัวเองสนใจมาเขียน ทำให้ตอนนี้ผมนับถือคนที่มีบล็อกของตัวเอง และขยันอัปเดตมันทุกวันมากๆ ว่าช่างมีความตั้งใจเป็นเลิศ เอาล่ะ เข้าเรื่องดีกว่า
ขณะที่ผมคิดว่าคงต้องหาเรื่องมาเขียนสักทีก็บังเอิญได้อ่านบล็อกเรื่อง คำหล่อๆ ของคุณพี่ The Aesthetics of Loneliness (ซึ่งมีลิงก์อยู่ในบล็อกนี้แล้ว) ในหัวข้อเรื่อง "คำหล่อๆ" ซึ่งพูดถึงการทำงานของกองบรรณาธิการนิตยสารในการทำบทสัมภาษณ์ ที่ต้องออกไปสรรหาคำหล่อๆ (หมายถึงประโยคที่ฟังแล้วคิดว่าดูดี) จากดาราหรือผู้คนที่น่าสนใจ สิ่งที่คุณพี่ท่านนั้นได้บอกเล่าไว้ค่อนข้างที่จะสะท้อนภาพของการทำงานด้านนี้อย่างชัดเจน และชวนหัว(เราะ)อยู่แล้ว ซึ่งผมอยากจะขอเพิ่มเติมมุมมองประสบการณ์บางด้านอีก ในฐานะที่ผมก็เป็นมดงาน(ที่ขี้เกียจตัวเป็นขนดกฟูสวยงาม)สายนี้คนหนึ่งเช่นกัน
ในช่วงแรกๆ ที่ผมได้รับมอบหมายให้ทำบทสัมภาษณ์ขนาดยาวนั้น มันเริ่มมาจากการที่ผมได้ทำบทสัมภาษณ์ขนาดสั้นประมาณ 1-2 หรือ 2-4 หน้ามาก่อน และทางบรรณาธิการเล็งเห็นว่าผมมีวิธีการตั้งคำถามที่น่าสนใจต่อตัวผู้ให้สัมภาษณ์ ทั้งที่เป็นดาราและคนในสายอาชีพอื่น ซึ่งกว่าเจ้านายจะรู้ตัวว่าตัดสินใจผิดก็พลั้งเผลอใช้งานผมไปหลายครา (หุหุ) แต่เมื่อผมได้ลองมาทำบทสัมภาษณ์ขนาดยาวที่กินเนื้อที่นับ 10 หน้านั้น จึงได้รู้ว่าการยืนชกจนครบ 12 ยกนั้นมันเหนื่อยและชวนให้ถอดใจมากแค่ไหน
เพราะการทำบทสัมภาษณ์สั้นนั้น ถ้าคำพูด วรรคทอง ซึ่งก็คล้ายๆ กับคำหล่อๆ ของผู้ให้สัมภาษณ์นั้นมีน้อย หรือเขาให้สัมภาษณ์วกวน ไม่มีประเด็น เราก็สามารถใช้การเขียนนแบบเรียบเรียงโดยใช้ตัวเราเป็นผู้สังเกตการณ์เรื่องราวเข้ามาช่วยได้ ซึ่งก็เป็นวิธีที่ผมใช้บ่อยมาก (ในอดีต)โดยเฉพาะในการสัมภาษณ์กับดารา ซึ่งมีเวลาพูดคุยกับเราตอนแต่งหน้า ตอนที่ช่างแต่งหน้ากำลังปัดคิ้วของเธอจนเลิกไปหนึ่งข้าง ตอนที่ปากของนางแบบคนนั้นกำลังบูดเบี้ยวเพราะทาลิปสติก ถ้าเป็นดาราชาย พวกเขาก็มักจะล่อกแล่กกับสิ่งรอบข้าง หรือมัวแต่ฉีกยิ้ม สวัสดีคนนั้นคนนี้ กระทั่งระหว่างกำลังกินข้าว จนผมเองก็ไม่ค่อยจะเล็งเห็นว่า คำหล่อๆ จะหลุดออกจากปากของดาราทั้งหลายได้ในเวลาแบบนั้น แต่หน้าที่ก็ผลักดันมันไปจนผมเอาตัวรอดมาได้
แต่กับบทสัมภาษณ์ขนาดยาวที่บ้านเราส่วนใหญ่เน้นวิธีทำแบบ ถาม-ตอบ มากกว่าการเรียบเรียงแบบบทความ ลีลาการพลิ้วไหว หรือสับขาหลอกคนอ่านนั้น แทบจะใช้ไม่ได้อีกแล้ว ดังนั้นการเค้นคำหล่อๆ จากคนหล่อ หรือคนสวย รวมไปถึงคนไม่หล่อ ไม่สวยแต่หน้าที่การงานดีนั้นจึงต้องรีดเอาจนถึงที่สุด ไม่ต่างจากการรีดเลือดจากปู ด้วยคำถามที่ต้องเหลาให้คมเสียจนบาดปากผู้ถามเลือดไหลซิบ มิพักจะเอ่ยถึงผู้ถูกถาม ว่าจะต้องเสียเลือดไปหลายถุงแค่ไหน ระหว่างการบริจาคคำสัมภาษณ์
แม้จะต้องเบื่อหน่ายกับการเตรียมตัวตั้งคำถามสัมภาษณ์ หรือคอยประคองผู้ให้สัมภาษณ์ไม่ให้หม่นหมอง แต่ผมเองก็หลงเพลิดเพลินไปกับการตั้งคำถามคมๆ เพื่อที่จะได้ดักจับ คำหล่อ หรือ และ วรรคทอง อย่างหิวกระหาย ยิ่งเวลาผู้ให้สัมภาษณ์ออกปากพูดว่า โอ้ว เป็นคำถามที่ดี, อืมม คำถามคมมาก ผมก็จะยิ่งรู้สึกประหนึ่งว่าตัวเองฝึกวิชาเหยียบเมฆาล่องลอยได้ถึงขั้นเก้า แต่ว่าก็อย่างที่คุณพี่The Aesthetics of Loneliness บอกไว้ว่าบางทีเราก็ไม่รู้เหมือนกันว่า คำหล่อๆ ที่ได้มานั้นแท้จริงแล้วมันมีประโยชน์กับคนอ่านจริงๆ หรือปล่า
ความรู้สึกนี้เริ่มก่อตัวชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ในความคิดของผม จนกลายเป็นว่าผมเริ่มเบื่อที่จะสรรหาคำถามคมๆ หรือรับฟัง คำหล่อๆ ของใครต่อใคร แต่การกระทำเยี่ยงนี้ก็ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างจริงจังนักในทางปฏิบัติ เพราะผมก็ยังต้องเรียนรู้และติดตามการทำงานของคนอื่นๆ เพื่อให้รู้ว่าวงการนี้เขาไปถึงไหนกันแล้ว กระทั่งในที่สุดผมก็ต้องตั้งคำถามคมๆ แบบเดิมอยู่ดี ตรงนี้ อาจมีคนเถียงว่ามันก็เป็นหน้าที่ของสื่อมวลชนที่ดีมิใช่หรือที่จะต้องตั้งคำถามแทนคนอ่าน คำถามที่จะดึงตัวตนของผู้ให้สัมภาษณ์ออกมาให้มากที่สุด เพื่อที่คนอ่านจะได้รับรู้ถึงมิติในความเป็นมนุษย์ด้านอื่นของใครบางคนที่เรารู้จักดีอยู่แล้ว หรือไม่ค่อยจะรู้จักดีนักให้เข้าใจเขาได้มากยิ่งขึ้น - ถูกครับ มันเป็นหน้าที่ที่ต้องทำอย่างเคร่งครัดของสื่อมวลชนที่ดีร้อยเปอร์เซ็นต์ และจะว่าไปแล้วผู้สัมภาษณ์ที่ดีก็ยังเป็นบุคลากรที่ขาดแคลนในวงการสื่อฯ ด้วยซ้ำ
เมื่อได้ถามตัวเองและลองหันไปมองโลกรอบข้าง จึงเห็นว่าบทสัมภาษณ์ของเมืองนอกนั้นช่างคมคาย และมีลูกเล่นแพรวพราว แต่จุดใหญ่ใจความที่ทำให้บทสัมภาษณ์ชิ้นนั้นพิเศษ ก็คือการตั้งคำถามที่ถึงลูกถึงคน บวกด้วยความเป็นคนช่างสังเกต ช่างเสียดสี(อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และกึ๋นของผู้สัมภาษณ์ด้วย) ซึ่งนิตยสารบ้านเราก็มีเช่นกันที่ทำอย่างนั้นได้ดีเช่น แต่ไม่รู้สิครับ เวลาฝรั่งเขาคุยกันแม้คำถามแม้บางข้อมันจะดูเท่ๆ แต่นั่นก็เป็นคำถามที่เรียกร้องคำตอบอย่างจริงจังจากผู้ตอบ มากกว่าต้องการเสียงหัวเราะและเฉไฉไปเรื่องอื่น และที่สำคัญคือธรรมชาติของพวกฝรั่งที่มันชอบถกเถียงกันมากกว่าจะมากระมิดกระเมี้ยน หรือมัวแต่นั่งเกรงใจโดยไม่ได้อะไรกลับไป อีกทั้งการให้สัมภาษณ์ของคนมีชื่อเสียงนั้นก็เป็น “การให้สัมภาษณ์” มากกว่าแค่ตอบคำถามให้จบๆ ไป
พอการสัมภาษณ์มันคือการพาตัวคนทำงานเข้าสู่การค้นหาความจริง หรือค้นหาตัวตนของผู้คนในระดับที่ “สร้างความตื่นเต้น” ทางปัญญา มากกว่าจะมานั่งซึมๆ คิดถึง “คำหล่อๆ” ในตอนจะมาถอดเทปแล้ว การทำงานกับเครื่องบันทึกเสียงของหนังสือเมืองนอกจึงดูดี มีสีสันกว่าเราค่อนข้างเยอะ
อย่างที่คุณพี่ The Aesthetics of Loneliness บอกไว้ว่าดารา หรือคนดังในเมืองไทย ไม่ค่อยจะให้ความสำคัญในการให้สัมภาษณ์มากเท่าที่ควร หมายถึงว่าเขาอาจไม่รู้จักหนังสือที่มาคุยว่าเป็นแนวไหน ไม่รู้ว่าบทสัมภาษณ์ขนาดยาว หรือคำถามที่จริงจังนั้นแตกต่างอย่างไรกับการให้ข่าวกับหนังสือรายวัน ซึ่งหลายคนอาจทราบก็ได้ แต่ก็ไม่ได้ทำความเข้าอกเข้าใจว่าการสัมภาษณ์ที่เอาเนื้อหามากกว่าเนื้อหนังนั้นต้องเตรียมตัว เตรียมสมองให้โปร่งโล่งอย่างไร หรือไม่คิดว่ามัจะต้องมีเวลาพูดคุยกันมากพอสมควร (ผมเคยสัมฯ นักร้องคนหนึ่ง จากเวลาพูดคุยที่ตั้งใจไว้หนึ่งชั่วโมงครึ่ง เขาต่อเหลือครึ่งชั่วโมง ไม่นับเวลาที่เขาแวะคุยโทรศัพท์นะ) กระทั่งการนัดหมายสถานที่ที่ไม่เป็นส่วนตัวและผ่อนคลายพอจะสร้างสมาธิในการตอบคำถาอันเป็นปัญหาคลาสสิก
แต่เอาเข้าจริง ผมมองว่าปัญหาที่มาจากการเบื่อหน่าย “คำหล่อๆ” หรือ “คำถามคมๆ” มันอาจเป็นเรื่องปลายเหตุจากที่สังคมเราขาดแคลนการตั้งคำถามและการให้ตอบอย่างตั้งใจ และเคารพในสถานะของกันและกัน ไอ้เรื่องที่ว่าสิ่งที่เขาตอบ ตัวตนที่เขาเผยออกมามันจะเป็นความจริงไหม ผู้อ่านสามารถเลือกข้างที่จะตัดสินได้อยู่แล้ว แม้ว่าบทสัมภาษณ์ชิ้นนั้นจะถูกขักเกลามาอย่างดีแค่ไหนก็ตาม แต่ในฐานะคนทำงาน การสัมภาษณ์ที่เป็นกระบวนการต่ออายุทางความคิด และผลิตความสุขในการเดินทางออกไปพร้อมกับเทปอัดแล้ว เหล่านี้ล้วนไม่ได้เกิดมาจากบัตรพนักงานที่แขวนคอไว้ หรือคำชมจากเจ้านายเท่านั้น
มันก็เหมือนกับการใช้ชีวิต ว่าถ้าเรารู้ล่วงหน้าว่าชีวิตจะออกมาเป็นอย่างไร แม้จะควบคุมง่ายแต่ก็ไม่อาจมอบความหมายของการมีชีวิตที่เป็นชีวิตได้ … นี่ผมพูดอะไรหล่อๆ ออกไปหรือเปล่านะ
jeeno บอกเล่า
ขณะที่ผมคิดว่าคงต้องหาเรื่องมาเขียนสักทีก็บังเอิญได้อ่านบล็อกเรื่อง คำหล่อๆ ของคุณพี่ The Aesthetics of Loneliness (ซึ่งมีลิงก์อยู่ในบล็อกนี้แล้ว) ในหัวข้อเรื่อง "คำหล่อๆ" ซึ่งพูดถึงการทำงานของกองบรรณาธิการนิตยสารในการทำบทสัมภาษณ์ ที่ต้องออกไปสรรหาคำหล่อๆ (หมายถึงประโยคที่ฟังแล้วคิดว่าดูดี) จากดาราหรือผู้คนที่น่าสนใจ สิ่งที่คุณพี่ท่านนั้นได้บอกเล่าไว้ค่อนข้างที่จะสะท้อนภาพของการทำงานด้านนี้อย่างชัดเจน และชวนหัว(เราะ)อยู่แล้ว ซึ่งผมอยากจะขอเพิ่มเติมมุมมองประสบการณ์บางด้านอีก ในฐานะที่ผมก็เป็นมดงาน(ที่ขี้เกียจตัวเป็นขนดกฟูสวยงาม)สายนี้คนหนึ่งเช่นกัน
ในช่วงแรกๆ ที่ผมได้รับมอบหมายให้ทำบทสัมภาษณ์ขนาดยาวนั้น มันเริ่มมาจากการที่ผมได้ทำบทสัมภาษณ์ขนาดสั้นประมาณ 1-2 หรือ 2-4 หน้ามาก่อน และทางบรรณาธิการเล็งเห็นว่าผมมีวิธีการตั้งคำถามที่น่าสนใจต่อตัวผู้ให้สัมภาษณ์ ทั้งที่เป็นดาราและคนในสายอาชีพอื่น ซึ่งกว่าเจ้านายจะรู้ตัวว่าตัดสินใจผิดก็พลั้งเผลอใช้งานผมไปหลายครา (หุหุ) แต่เมื่อผมได้ลองมาทำบทสัมภาษณ์ขนาดยาวที่กินเนื้อที่นับ 10 หน้านั้น จึงได้รู้ว่าการยืนชกจนครบ 12 ยกนั้นมันเหนื่อยและชวนให้ถอดใจมากแค่ไหน
เพราะการทำบทสัมภาษณ์สั้นนั้น ถ้าคำพูด วรรคทอง ซึ่งก็คล้ายๆ กับคำหล่อๆ ของผู้ให้สัมภาษณ์นั้นมีน้อย หรือเขาให้สัมภาษณ์วกวน ไม่มีประเด็น เราก็สามารถใช้การเขียนนแบบเรียบเรียงโดยใช้ตัวเราเป็นผู้สังเกตการณ์เรื่องราวเข้ามาช่วยได้ ซึ่งก็เป็นวิธีที่ผมใช้บ่อยมาก (ในอดีต)โดยเฉพาะในการสัมภาษณ์กับดารา ซึ่งมีเวลาพูดคุยกับเราตอนแต่งหน้า ตอนที่ช่างแต่งหน้ากำลังปัดคิ้วของเธอจนเลิกไปหนึ่งข้าง ตอนที่ปากของนางแบบคนนั้นกำลังบูดเบี้ยวเพราะทาลิปสติก ถ้าเป็นดาราชาย พวกเขาก็มักจะล่อกแล่กกับสิ่งรอบข้าง หรือมัวแต่ฉีกยิ้ม สวัสดีคนนั้นคนนี้ กระทั่งระหว่างกำลังกินข้าว จนผมเองก็ไม่ค่อยจะเล็งเห็นว่า คำหล่อๆ จะหลุดออกจากปากของดาราทั้งหลายได้ในเวลาแบบนั้น แต่หน้าที่ก็ผลักดันมันไปจนผมเอาตัวรอดมาได้
แต่กับบทสัมภาษณ์ขนาดยาวที่บ้านเราส่วนใหญ่เน้นวิธีทำแบบ ถาม-ตอบ มากกว่าการเรียบเรียงแบบบทความ ลีลาการพลิ้วไหว หรือสับขาหลอกคนอ่านนั้น แทบจะใช้ไม่ได้อีกแล้ว ดังนั้นการเค้นคำหล่อๆ จากคนหล่อ หรือคนสวย รวมไปถึงคนไม่หล่อ ไม่สวยแต่หน้าที่การงานดีนั้นจึงต้องรีดเอาจนถึงที่สุด ไม่ต่างจากการรีดเลือดจากปู ด้วยคำถามที่ต้องเหลาให้คมเสียจนบาดปากผู้ถามเลือดไหลซิบ มิพักจะเอ่ยถึงผู้ถูกถาม ว่าจะต้องเสียเลือดไปหลายถุงแค่ไหน ระหว่างการบริจาคคำสัมภาษณ์
แม้จะต้องเบื่อหน่ายกับการเตรียมตัวตั้งคำถามสัมภาษณ์ หรือคอยประคองผู้ให้สัมภาษณ์ไม่ให้หม่นหมอง แต่ผมเองก็หลงเพลิดเพลินไปกับการตั้งคำถามคมๆ เพื่อที่จะได้ดักจับ คำหล่อ หรือ และ วรรคทอง อย่างหิวกระหาย ยิ่งเวลาผู้ให้สัมภาษณ์ออกปากพูดว่า โอ้ว เป็นคำถามที่ดี, อืมม คำถามคมมาก ผมก็จะยิ่งรู้สึกประหนึ่งว่าตัวเองฝึกวิชาเหยียบเมฆาล่องลอยได้ถึงขั้นเก้า แต่ว่าก็อย่างที่คุณพี่The Aesthetics of Loneliness บอกไว้ว่าบางทีเราก็ไม่รู้เหมือนกันว่า คำหล่อๆ ที่ได้มานั้นแท้จริงแล้วมันมีประโยชน์กับคนอ่านจริงๆ หรือปล่า
ความรู้สึกนี้เริ่มก่อตัวชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ในความคิดของผม จนกลายเป็นว่าผมเริ่มเบื่อที่จะสรรหาคำถามคมๆ หรือรับฟัง คำหล่อๆ ของใครต่อใคร แต่การกระทำเยี่ยงนี้ก็ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างจริงจังนักในทางปฏิบัติ เพราะผมก็ยังต้องเรียนรู้และติดตามการทำงานของคนอื่นๆ เพื่อให้รู้ว่าวงการนี้เขาไปถึงไหนกันแล้ว กระทั่งในที่สุดผมก็ต้องตั้งคำถามคมๆ แบบเดิมอยู่ดี ตรงนี้ อาจมีคนเถียงว่ามันก็เป็นหน้าที่ของสื่อมวลชนที่ดีมิใช่หรือที่จะต้องตั้งคำถามแทนคนอ่าน คำถามที่จะดึงตัวตนของผู้ให้สัมภาษณ์ออกมาให้มากที่สุด เพื่อที่คนอ่านจะได้รับรู้ถึงมิติในความเป็นมนุษย์ด้านอื่นของใครบางคนที่เรารู้จักดีอยู่แล้ว หรือไม่ค่อยจะรู้จักดีนักให้เข้าใจเขาได้มากยิ่งขึ้น - ถูกครับ มันเป็นหน้าที่ที่ต้องทำอย่างเคร่งครัดของสื่อมวลชนที่ดีร้อยเปอร์เซ็นต์ และจะว่าไปแล้วผู้สัมภาษณ์ที่ดีก็ยังเป็นบุคลากรที่ขาดแคลนในวงการสื่อฯ ด้วยซ้ำ
เมื่อได้ถามตัวเองและลองหันไปมองโลกรอบข้าง จึงเห็นว่าบทสัมภาษณ์ของเมืองนอกนั้นช่างคมคาย และมีลูกเล่นแพรวพราว แต่จุดใหญ่ใจความที่ทำให้บทสัมภาษณ์ชิ้นนั้นพิเศษ ก็คือการตั้งคำถามที่ถึงลูกถึงคน บวกด้วยความเป็นคนช่างสังเกต ช่างเสียดสี(อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และกึ๋นของผู้สัมภาษณ์ด้วย) ซึ่งนิตยสารบ้านเราก็มีเช่นกันที่ทำอย่างนั้นได้ดีเช่น แต่ไม่รู้สิครับ เวลาฝรั่งเขาคุยกันแม้คำถามแม้บางข้อมันจะดูเท่ๆ แต่นั่นก็เป็นคำถามที่เรียกร้องคำตอบอย่างจริงจังจากผู้ตอบ มากกว่าต้องการเสียงหัวเราะและเฉไฉไปเรื่องอื่น และที่สำคัญคือธรรมชาติของพวกฝรั่งที่มันชอบถกเถียงกันมากกว่าจะมากระมิดกระเมี้ยน หรือมัวแต่นั่งเกรงใจโดยไม่ได้อะไรกลับไป อีกทั้งการให้สัมภาษณ์ของคนมีชื่อเสียงนั้นก็เป็น “การให้สัมภาษณ์” มากกว่าแค่ตอบคำถามให้จบๆ ไป
พอการสัมภาษณ์มันคือการพาตัวคนทำงานเข้าสู่การค้นหาความจริง หรือค้นหาตัวตนของผู้คนในระดับที่ “สร้างความตื่นเต้น” ทางปัญญา มากกว่าจะมานั่งซึมๆ คิดถึง “คำหล่อๆ” ในตอนจะมาถอดเทปแล้ว การทำงานกับเครื่องบันทึกเสียงของหนังสือเมืองนอกจึงดูดี มีสีสันกว่าเราค่อนข้างเยอะ
อย่างที่คุณพี่ The Aesthetics of Loneliness บอกไว้ว่าดารา หรือคนดังในเมืองไทย ไม่ค่อยจะให้ความสำคัญในการให้สัมภาษณ์มากเท่าที่ควร หมายถึงว่าเขาอาจไม่รู้จักหนังสือที่มาคุยว่าเป็นแนวไหน ไม่รู้ว่าบทสัมภาษณ์ขนาดยาว หรือคำถามที่จริงจังนั้นแตกต่างอย่างไรกับการให้ข่าวกับหนังสือรายวัน ซึ่งหลายคนอาจทราบก็ได้ แต่ก็ไม่ได้ทำความเข้าอกเข้าใจว่าการสัมภาษณ์ที่เอาเนื้อหามากกว่าเนื้อหนังนั้นต้องเตรียมตัว เตรียมสมองให้โปร่งโล่งอย่างไร หรือไม่คิดว่ามัจะต้องมีเวลาพูดคุยกันมากพอสมควร (ผมเคยสัมฯ นักร้องคนหนึ่ง จากเวลาพูดคุยที่ตั้งใจไว้หนึ่งชั่วโมงครึ่ง เขาต่อเหลือครึ่งชั่วโมง ไม่นับเวลาที่เขาแวะคุยโทรศัพท์นะ) กระทั่งการนัดหมายสถานที่ที่ไม่เป็นส่วนตัวและผ่อนคลายพอจะสร้างสมาธิในการตอบคำถาอันเป็นปัญหาคลาสสิก
แต่เอาเข้าจริง ผมมองว่าปัญหาที่มาจากการเบื่อหน่าย “คำหล่อๆ” หรือ “คำถามคมๆ” มันอาจเป็นเรื่องปลายเหตุจากที่สังคมเราขาดแคลนการตั้งคำถามและการให้ตอบอย่างตั้งใจ และเคารพในสถานะของกันและกัน ไอ้เรื่องที่ว่าสิ่งที่เขาตอบ ตัวตนที่เขาเผยออกมามันจะเป็นความจริงไหม ผู้อ่านสามารถเลือกข้างที่จะตัดสินได้อยู่แล้ว แม้ว่าบทสัมภาษณ์ชิ้นนั้นจะถูกขักเกลามาอย่างดีแค่ไหนก็ตาม แต่ในฐานะคนทำงาน การสัมภาษณ์ที่เป็นกระบวนการต่ออายุทางความคิด และผลิตความสุขในการเดินทางออกไปพร้อมกับเทปอัดแล้ว เหล่านี้ล้วนไม่ได้เกิดมาจากบัตรพนักงานที่แขวนคอไว้ หรือคำชมจากเจ้านายเท่านั้น
มันก็เหมือนกับการใช้ชีวิต ว่าถ้าเรารู้ล่วงหน้าว่าชีวิตจะออกมาเป็นอย่างไร แม้จะควบคุมง่ายแต่ก็ไม่อาจมอบความหมายของการมีชีวิตที่เป็นชีวิตได้ … นี่ผมพูดอะไรหล่อๆ ออกไปหรือเปล่านะ
jeeno บอกเล่า
6 Comments:
At 12:55 PM,
Anonymous said…
หลายเดือนก่อน
ผมได้ทำบทสัมภาษณ์ยาวๆ ครั้งหนึ่ง
รู้สึกดีไม่น้อย ไม่ใช่เพราะทำงานดีหรอกครับ แต่รู้สึกดีที่วันดีคืนดี เขาก็โทรฯ มาหาเรา บอกว่านี่..ไปดูหนังเรื่องหนึ่งมาสนุกมาก แล้วคิดถึงน้องเลย เพราะผมกับเขาเคยคุยกันเขาว่าชอบอะไร ไม่ชอบอะไร มันฟังดูมันแฟนตาซีไปหน่อยนะครับ ที่ได้เพื่อน ได้พี่จากการทำสัมภาษณ์ และคิดว่าคงไม่ใช่ทุกครั้งไปที่เป็นอย่างนี้
การทำสัมภาษณ์ทำให้เราเรียนรู้ในเรื่องราวชีวิตคนอื่น
จะว่าไปก็เหมือนการเรียนลัดอย่างหนึ่งในการดำเนินชีวิต
รออ่านบทสัมภาษณ์ คมๆ ของ Jeeno เสมอนะ
และดีใจมากทุกครั้งที่มีโอกาสได้อ่านมันก่อนที่จะถูกตีพิมพ์
คุณ Jeeno สามารถเอาดีทางนี้ได้เลยล่ะ ตลาดคนอ่านหนังสือบางเรายังขาดคนทำสัมภาษณ์เก่งๆ อยู่นะครับ
Go on man
At 1:05 PM,
the aesthetics of loneliness said…
เห็นด้วยว่ากับที่บอกว่า "สังคมเราขาดแคลนการตั้งคำถาม และการให้ตอบอย่างตั้งใจ และเคารพในสถานะของกันและกัน"
แหล่งข่าวส่วนใหญ่มักจะมองสื่อมวลชนแบบเหมารวม สื่อมวลชนดูอ่อนแรง แม้กระทั่งพวกหนังสือพิมพ์เองก็ตาม คงเป็นเพราะพวกเราเองด้วยแหละ ที่ทำงานต่ำกว่ามาตรฐาน ติดต่อกันมายาวนานจนเราถูกมองแบบนี้
At 5:58 PM,
Anonymous said…
เป็นหัวข้อที่หล่อดีค่ะ ทำเอาความคิดเราสวยขึ้นอีกนิดหน่อย
At 5:28 PM,
Anonymous said…
ผมว่าบางทีหล่อ ไม่หล่อ มันเป็นเรื่่องของรสนิยม คำหล่อๆ บางทีก็ดูคาดคั้นให้ตัวเองดูเท่ ดูฉลาด ดูเหนือกว่าคนอ่านอย่างไม่จำเป็น ผมเตยอ่านสัมภาษณ์ของ แมทิว แมคคอนนาเฮย์ในนิตยาสาร esquire มันไม่มีคำพยายามหล่อ เรียบง่าย อ่านสนุกและเป็นกันเอง แต่สิ่งที่สนุกก็คือ เขามีประเด็นคุยที่ทำให้เห็นอีกด้านของผู้สัมภาษณ์ ซึ่งเป็น public person ที่คนแทบจะรู้จักเขาทุกมุม งานสัมภาษณ์บ้านเราบางครั้งก็น่าเบื่อ มีแบบเดียว บางทีด้วยวัฒนธรรมของนิตยสารที่ไม่เปิดโอกาสให้สร้างสรรค์อะไรมากมาย และข้อจำกัดเรื่องมุมมองของผู้สัมภาษณ์และส่วนสันบสนุนอื่นๆ ทั้ง art work ทั้งช่างภาพ ส่วนทั้งหมดนี้มีส่วนให้โดยรวมของสัมภาษณ์ดูน่าอ่านและสนุกขึ้น
eddy chang
At 3:35 PM,
gmplusclub said…
สิ่งที่ยากสำหรับท้อฟในการสัมภาษณ์ไม่ใช่การตั้งคำถามหล่อๆ หรือเค้นคำเท่ๆมาจากปากคนตรงหน้า แต่เป็นการควบคุม"จริต"ของตัวเองมากกว่า ฮ่าๆๆ
อู้ย! ยิ่งเวลาต้องสัมภาษณ์คนหล่อๆเนี่ย จะควบคุมจริตยากเป็นพิเศษ รู้สึกว่ามุมปากมันจะคอยยกขึ้นทีละองศาจนกลายเป็นเครื่องหมายการค้า"ไนกี้"ในที่สุด เรียกว่าชื่นชมออกหน้าออกตากันเห็นๆ
แต่ใช่ว่าจะเป็นกับผช.(ผู้ชาย)อย่างเดียว คืนก่อนหน้าที่จะสัมภาษณ์ใหม่ เจริญอาหาร เอ้ย! เจริญปุระ ท้อฟก็ร้องไห้ไปหนึ่งยก เพราะตื่นเต้น ดีใจ จะได้คุยกับเจ้าแม่เพลงเกย์
มีกำลังใจทำงานก็เพราะคอลัมน์ New Faces นี่แหละครับ ไม่หล่อ ไม่เท่ ท้อฟให้เตะเลย เพราะคัดมาเองกับตัว คริๆ
Toffy in Love
At 11:15 PM,
Anonymous said…
มีคนพูดให้ฟังว่าผู้ชายcrazy คำพูดหล่อๆ (เอ้า คมกันเข้าไป)ในขณะที่ผู้หญิงบ้าการแต่งตัว
ด้วยเหตุนี้เพื่อความชัวร์ผู้ชายก็เลยพกแต่คำหล่อๆเหมือน copy โฆษณาติดตัวไปทุกวัน
ส่วนผู้หญิงก็แต่งตัวสวย ความจำสั้น และชื่นชมกับcopy โฆษณา
เจริญพร
blackcomedy
Post a Comment
<< Home