ทุกคนครับ ทุกคน...
ทุกคนครับ ทุกคน...
๑
จริงๆ การเขียนกระทู้อันนี้ มันเริ่มจากผมนั่งหาข้อมูลและเรื่องนายกรัฐมนตรีของเวียดนาม
(นายเหงียน ตัน ดอง เป็นนายกคนที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์เวียดนาม และเด่นมากเรื่องมีหัวการตลาด การค้าพอๆ กับเรื่องควาวมตงฉินของแก) ตอนนี้ไทยเราโดนเอาไปเปรียบเทียบกับเวียดนามค่อนข้างบ่อยว่าเรากำลังจะโดนแซงในอีกไม่ถึง 20 ปีนี้(หรืออาจเร็วกว่านั้น ซึ่งก็เป็นไปได้สูง) ตอนนี้เวียดนามกำลังลงทุนหลายต่อหลายอย่างเพื่อรองรับ การเติบโต ปีนี้เขาเริ่มสร้างสนามบินใหม่ ที่ใหญ่ที่สุดในโลก แต่ใช้เวลาสร้าง
ประมาณ 8 ปี ไม่ใช่ 42 ปีอย่างบางประเทศ เร่งพัฒนาเรื่อง Infra structure มีการจัดตั้งศูนย์ที่เขาเรียกว่า Veitnam academy of social science เป็นศูนย์เหมือนๆ กับ TDRI บ้านเรา ทำหน้าที่ในการวิจัยทุกๆ อย่างที่รัฐสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในการกำหนดนโยบายประเทศ ศูนย์นี้ตั้งเมื่อปี 2002 และเติบโตเร็วมาก
ตอนนี้มีนักวิทยาศาสตร์ทำงานอยู่ 1500 คน ซึงเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรกว่า 80 ล้านก็ถือว่ามาก เพราะจีนก็มีศูนย์แบบนี้ แต่มีนักวิทยาศาสตร์อยู่ 2200 คน
๒
นอกเหนือจากนายกที่เก่งเรื่องการบริหารและหัวการตลาด(การจัดประชุม เอเปคและการเจรจาเข้าร่วม WTO ได้ของเขา ทำให้เวียดนามมีโอกาส"ประชาสัมพันธ์" ตัวเองได้มาก) ว่ากันว่าการให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาการศึกษานี่เอง ที่ทำให้เวียดนามโตอย่างรวดเร็วและมีทิศทาง ขณะที่บ้านเราระบบการศึกษายังเป็นคำถามอยู่
เวียดนามขึ้นมาเป็นประเทศที่สองของโลกที่ญี่ปุ่นสนใจอยากลงทุนมากที่สุดรองจากจีน ตำแหน่งนี้เคยเป็นของไทย แต่ตอนนี้ไทยเราตกไปอยู่ที่ท้ายๆ เพราะปัจจัยด้านการเมืองที่วุ่นวายไม่รู้จบ และยังไม่เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ว่าจะรุ่งโรจน์จริงไหม
๓
มีคนตั้งข้อสังเกตว่าหากเมืองไทยยังมีระบบการเมืองแบบนี้ ยังแก้ปัญหาเรื่องคอรัปชั่นไม่ได้ และคิดนโยบาย ทำนโยบายเหมือนเด็กเล่นขายของ ไทยก็ไม่มีทางไปถึงไหน และในขณะที่เศรษฐกิจของเวียดนามโตระดับเกือบ 10 เปอร์เซ็นต์ทุกๆ ปี การเมืองเป็นเรื่องใหญ่กว่าทุกอย่างครับ มากกว่าระบบการเงิน
หรือระบบเศรษฐกิจเสียอีก
๔
หากเราจะสังเกตกันรอบๆ เมืองไทย จะพบว่า ประเทศที่สามารถพัฒนาได้อย่างก้าวกระโดดอย่าง
ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกงหรือสิงคโปร์ สิ่งสำคัญก็คือ การมีรัฐบาลพรรคเดียวบริหารแบบต่อเนื่องและยาวนาน ทำให้นโยบายไม่สะดุด ไม่ต้องนับหนึ่งกันใหม่เวลาเปลี่ยนรัฐบาล ที่สำคัญคือต้องปราบปรามคอรัปชั่นได้อย่างเด็ดขาดเหมือนให้คนเปลี่ยนมาเรียกยาบ้าแทนยาม้า
๕
คำพูดของ คุณวิกรม เจ้าของอมตะนครในรายการโทรทัศน์รายกการหนึ่ง ที่ผมได้ดูตอนพบค่ำ เล่าถึงประสบการณ์กว่าสิบปีที่ทำงานกับคนเวียดนามนานหลายสิบปี เขาพบอย่างหนึ่งว่าแววตาของคนเวียดนามต่างจากคนไทยมาก "คนเวียดนามมีแววตาที่มุ่งมั่น ใฝ่รู้ กระตือรือร้นอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นที่ถูกใจของนักธุรกิจที่ได้เข้าไปติดต่อกับเวียดนาม เพราะเขาเห็นพลัง เห็นความกระหายอยากรู้ แล้วคนเวียดนามมี creative mind ดี
กล้าคิดกล้าทำ นักธุรกกิจญี่ปุ่นหลายคนที่เคนมาติดต่อกับราชการที่เมืองไทย เขามักบอกผมเสมอๆ ว่าคนไทยไม่มีสายตาแบบนั้น บางทีเหม่อลอย บางทีไม่กล้า ไม่กระตือรือร้น โดยเฉพาะข้าราขการไทย แทบหาไม่ได้
แววตาที่อยากทำงาน แววตาที่กระตือรือร้น มุ่งมั่นแบบนั้น" คุณวิกรมบอกว่าในขณะที่คนไทยเดินทอดน่องกันตอนเลิกงาน แต่ที่เวียดนาเขาไม่เคยเห็นใครทำอย่างนั้น
๖
ครั้งหนึ่ง
คนไทยเราครั้งหนึ่งเคยเรียกคนจีนแบบดูถูกว่าพวกเจ๊ก เราเคยเรียกคนเวียดนามด้วยคำว่า ไอ้พวกเวียดกง
ผมไม่รู้ว่าคนเวียดนามเขาเรียกเราว่าอะไร และคนจีนเรียกเราว่า "ไทกั่วเหยิน" นั้น เขาจะเราด้วยน้ำเสียงแบบเดียวกับ ที่เราพูดว่าเจ๊กหรือเปล่า ผมไม่รู้ว่านี่เป็นข้อดี หรือเป็นข้อเสียของเรา กับการที่เราสามารถเป็นชาติที่เพิกเฉยในบางเรื่องได้สบายๆ (อย่างคอรัปชั่นหรือวัฒนธรรมแบบปากอย่างใจอย่าง) และใส่ใจกับเรื่องบางเรื่องที่ไม่เป็นเรื่อง(ห้ามซื้อแอลกอฮอลล์ตอนกลางวัน ในร้านขายของ1)
เราอยู่ในโลกที่ผูกติดไปกับกลไกตลาด และตอนนี้เราเป็นใส้กลางของแซนวิช ที่ไปไหนไม่ได้
เราคนไทยจะทำอย่างไร เราจะช่วยประเทศไทยเราอย่างไร เราจะมีแววตาแห่งความกระตือรือร้นแบบนั้นได้ไหม
นักศึกษาที่เรียนอยู่ตอนนี้เขาคิดอะไรอย่างไรกับชาติและอนาคต
แล้วเราอยากให้คนอื่นเรียกเราว่าอย่างไร?
ข้อนี้ผมอยากรู้จริงๆ
๑
จริงๆ การเขียนกระทู้อันนี้ มันเริ่มจากผมนั่งหาข้อมูลและเรื่องนายกรัฐมนตรีของเวียดนาม
(นายเหงียน ตัน ดอง เป็นนายกคนที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์เวียดนาม และเด่นมากเรื่องมีหัวการตลาด การค้าพอๆ กับเรื่องควาวมตงฉินของแก) ตอนนี้ไทยเราโดนเอาไปเปรียบเทียบกับเวียดนามค่อนข้างบ่อยว่าเรากำลังจะโดนแซงในอีกไม่ถึง 20 ปีนี้(หรืออาจเร็วกว่านั้น ซึ่งก็เป็นไปได้สูง) ตอนนี้เวียดนามกำลังลงทุนหลายต่อหลายอย่างเพื่อรองรับ การเติบโต ปีนี้เขาเริ่มสร้างสนามบินใหม่ ที่ใหญ่ที่สุดในโลก แต่ใช้เวลาสร้าง
ประมาณ 8 ปี ไม่ใช่ 42 ปีอย่างบางประเทศ เร่งพัฒนาเรื่อง Infra structure มีการจัดตั้งศูนย์ที่เขาเรียกว่า Veitnam academy of social science เป็นศูนย์เหมือนๆ กับ TDRI บ้านเรา ทำหน้าที่ในการวิจัยทุกๆ อย่างที่รัฐสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในการกำหนดนโยบายประเทศ ศูนย์นี้ตั้งเมื่อปี 2002 และเติบโตเร็วมาก
ตอนนี้มีนักวิทยาศาสตร์ทำงานอยู่ 1500 คน ซึงเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรกว่า 80 ล้านก็ถือว่ามาก เพราะจีนก็มีศูนย์แบบนี้ แต่มีนักวิทยาศาสตร์อยู่ 2200 คน
๒
นอกเหนือจากนายกที่เก่งเรื่องการบริหารและหัวการตลาด(การจัดประชุม เอเปคและการเจรจาเข้าร่วม WTO ได้ของเขา ทำให้เวียดนามมีโอกาส"ประชาสัมพันธ์" ตัวเองได้มาก) ว่ากันว่าการให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาการศึกษานี่เอง ที่ทำให้เวียดนามโตอย่างรวดเร็วและมีทิศทาง ขณะที่บ้านเราระบบการศึกษายังเป็นคำถามอยู่
เวียดนามขึ้นมาเป็นประเทศที่สองของโลกที่ญี่ปุ่นสนใจอยากลงทุนมากที่สุดรองจากจีน ตำแหน่งนี้เคยเป็นของไทย แต่ตอนนี้ไทยเราตกไปอยู่ที่ท้ายๆ เพราะปัจจัยด้านการเมืองที่วุ่นวายไม่รู้จบ และยังไม่เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ว่าจะรุ่งโรจน์จริงไหม
๓
มีคนตั้งข้อสังเกตว่าหากเมืองไทยยังมีระบบการเมืองแบบนี้ ยังแก้ปัญหาเรื่องคอรัปชั่นไม่ได้ และคิดนโยบาย ทำนโยบายเหมือนเด็กเล่นขายของ ไทยก็ไม่มีทางไปถึงไหน และในขณะที่เศรษฐกิจของเวียดนามโตระดับเกือบ 10 เปอร์เซ็นต์ทุกๆ ปี การเมืองเป็นเรื่องใหญ่กว่าทุกอย่างครับ มากกว่าระบบการเงิน
หรือระบบเศรษฐกิจเสียอีก
๔
หากเราจะสังเกตกันรอบๆ เมืองไทย จะพบว่า ประเทศที่สามารถพัฒนาได้อย่างก้าวกระโดดอย่าง
ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกงหรือสิงคโปร์ สิ่งสำคัญก็คือ การมีรัฐบาลพรรคเดียวบริหารแบบต่อเนื่องและยาวนาน ทำให้นโยบายไม่สะดุด ไม่ต้องนับหนึ่งกันใหม่เวลาเปลี่ยนรัฐบาล ที่สำคัญคือต้องปราบปรามคอรัปชั่นได้อย่างเด็ดขาดเหมือนให้คนเปลี่ยนมาเรียกยาบ้าแทนยาม้า
๕
คำพูดของ คุณวิกรม เจ้าของอมตะนครในรายการโทรทัศน์รายกการหนึ่ง ที่ผมได้ดูตอนพบค่ำ เล่าถึงประสบการณ์กว่าสิบปีที่ทำงานกับคนเวียดนามนานหลายสิบปี เขาพบอย่างหนึ่งว่าแววตาของคนเวียดนามต่างจากคนไทยมาก "คนเวียดนามมีแววตาที่มุ่งมั่น ใฝ่รู้ กระตือรือร้นอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นที่ถูกใจของนักธุรกิจที่ได้เข้าไปติดต่อกับเวียดนาม เพราะเขาเห็นพลัง เห็นความกระหายอยากรู้ แล้วคนเวียดนามมี creative mind ดี
กล้าคิดกล้าทำ นักธุรกกิจญี่ปุ่นหลายคนที่เคนมาติดต่อกับราชการที่เมืองไทย เขามักบอกผมเสมอๆ ว่าคนไทยไม่มีสายตาแบบนั้น บางทีเหม่อลอย บางทีไม่กล้า ไม่กระตือรือร้น โดยเฉพาะข้าราขการไทย แทบหาไม่ได้
แววตาที่อยากทำงาน แววตาที่กระตือรือร้น มุ่งมั่นแบบนั้น" คุณวิกรมบอกว่าในขณะที่คนไทยเดินทอดน่องกันตอนเลิกงาน แต่ที่เวียดนาเขาไม่เคยเห็นใครทำอย่างนั้น
๖
ครั้งหนึ่ง
คนไทยเราครั้งหนึ่งเคยเรียกคนจีนแบบดูถูกว่าพวกเจ๊ก เราเคยเรียกคนเวียดนามด้วยคำว่า ไอ้พวกเวียดกง
ผมไม่รู้ว่าคนเวียดนามเขาเรียกเราว่าอะไร และคนจีนเรียกเราว่า "ไทกั่วเหยิน" นั้น เขาจะเราด้วยน้ำเสียงแบบเดียวกับ ที่เราพูดว่าเจ๊กหรือเปล่า ผมไม่รู้ว่านี่เป็นข้อดี หรือเป็นข้อเสียของเรา กับการที่เราสามารถเป็นชาติที่เพิกเฉยในบางเรื่องได้สบายๆ (อย่างคอรัปชั่นหรือวัฒนธรรมแบบปากอย่างใจอย่าง) และใส่ใจกับเรื่องบางเรื่องที่ไม่เป็นเรื่อง(ห้ามซื้อแอลกอฮอลล์ตอนกลางวัน ในร้านขายของ1)
เราอยู่ในโลกที่ผูกติดไปกับกลไกตลาด และตอนนี้เราเป็นใส้กลางของแซนวิช ที่ไปไหนไม่ได้
เราคนไทยจะทำอย่างไร เราจะช่วยประเทศไทยเราอย่างไร เราจะมีแววตาแห่งความกระตือรือร้นแบบนั้นได้ไหม
นักศึกษาที่เรียนอยู่ตอนนี้เขาคิดอะไรอย่างไรกับชาติและอนาคต
แล้วเราอยากให้คนอื่นเรียกเราว่าอย่างไร?
ข้อนี้ผมอยากรู้จริงๆ